Sunday, March 13, 2022

 เรื่องหุ่นยนต์ในงานอุตสหกรรม

13 มีนาคม 2564

เรื่อง หุ่นยนต์ในงานอุตสหกรรม



หุ่นยนต์ คือ เครื่องจักรกลหรือหุ่นที่มีเครื่องกลไกอยู่ภายใน สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์หรือทำงานแทนมนุษย์ได้ สามารถจัดลำดับการทำงานก่อนหลังได้ ระดับขั้นตอนการทำงานของหุ่นยนต์จำแนกได้ 6 ระดับ ตามเกณฑ์มาตรฐานของ สมาคมหุ่นยนต์อุตสาหกรรมแห่งญี่ปุ่น (Japanese Industrial Robot Association : JIRA) ได้ดังนี้

  • ระดับที่ 1 กลไกที่ถูกควบคุมโดยมนุษย์ (Manual Handling Device) เป็นเครื่องจักรกลโดยต้องมีผู้ควบคุมบังคับการทำงานตลอดเวลา
  • ระดับที่ 2 หุ่นยนต์ที่ทำงานตามแผนล่วงหน้าตามที่กำหนด โดยไม่สามารถปรับแผนงานได้ (Fixed Sequence Robot) หุ่นยนต์หรือเครื่องจักรกลที่ถูกออกแบบให้ทำงานโดยที่มีเครื่องควบคุมแบบ Sequencer ทำหน้าที่สั่งงานเรียงตามลำดับ เช่น ถ้ามี Sequencer 5 ตัว เมื่อตัวแรกสั่งทำงานเมื่อทำงานเสร็จแล้ว ตัวที่ 2 ก็จะเริ่มทำงาน โดยทำงานเรียงตามลำดับกันไป
  • ระดับที่ 3 หุ่นยนต์ที่ทำงานตามแผนล่วงหน้าที่กำหนด โดยสามารถปรับเปลี่ยนแผนงานได้ (Variable Sequence Robot) หลักการทำงานคล้ายกับระดับที่ 2 ต่างกันที่สามารถปรับเปลี่ยนวงจรได้โดยง่าย
  • ระดับที่ 4 ผู้ควบคุมเป็นผู้สอนงานแก่หุ่นยนต์ หุ่นยนต์จะทำงานเล่นย้อนกลับ ตามหน่วยความจำที่บันทึกได้ (Playback Robot) ชุดคำสั่งจะถูกบันทึกในเครื่องบันทึกความจำ โดยชุดคำสั่งจะถูกเรียกใช้มาสั่งให้หุ่นยนต์ทำงานตามที่บันทึกไว้ เมื่อสอนเสร็จหุ่นยนต์ก็สามารถเลียนแบบสิ่งที่เรียนมาได้
  • ระดับที่ 5 ผู้ควบคุมบันทึกข้อมูลเชิงตัวเลขการเคลื่อนที่ให้แก่หุ่นยนต์ และหุ่นยนต์สามารถทำงานได้เองโดยไม่ต้องสอน (Numerical Control Robot) หุ่นยนต์แบบนี้คำสั่งบังคับการทำงานมีลักษณะเป็นตัวเลข โดยชุดคำสั่งอยู่ในแถบหรือจานแม่เหล็กเป็นต้น
  • ระดับที่ 6 หุ่นยนต์ที่มีความฉลาดสามารถเรียนรู้สภาพแวดล้อมและตัดสินใจทำงานได้ด้วยตัวเอง (Intelligence Robot) เป็นหุ่นยนต์ที่มีประสาทรับรู้ เช่นสามารถมองเห็น สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับขั้นตอนการทำงานได้ เป็นต้น
ในปัจจุบัน หุ่นยนต์ คือ สิ่งที่คุ้นเคยสำหรับมนุษย์ ทั้งในด้านภาคอุตสาหกรรมเช่นในโรงงานต่างๆ ในชีวิตประจำวันเช่นการมีหุ่นยนต์ ทำความสะอาดบ้าน เสิร์ฟอาหาร และใช้งานอื่นๆ หรือแม้แต่ในจินตนาการเช่นในภาพยนต์หลายๆเรื่องที่เป็นที่นิยม ก็มีการกล่าวถึงหุ่นยนต์เช่น Terminator, AI, I-Robot และอีกมากมาย รวมถึงในนิยายแนววิทยาศาสตร์ (Science Fiction) 

หุ่นยนต์ที่นิยมใช้ในโรงงานอุตสหกรรม


หุ่นยนต์ที่นิยมใช้ในโรงงานอุตสหกรรม โดยปัจจุบันนี้มีหุ่นยนต์โคบอทตัวหนึ่งซึ่งเป็นแขนกลที่ทำหน้าที่เชื่อมและประกอบชิ้นส่วนในโรงงานอุตสาหกรรม นั่นก็คือโคบอทรุ่น UR3 ที่สร้างและพัฒนาโดยบริษัท Universal Robots โดยหุ่นยนต์โคบอทรุ่นนี้มีระบบเซ็นเซอร์ที่ล้ำสมัย ทำงานเชื่อมและประกอบได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถตรวจจับและวัดขนาดได้แม่นยำกว่ามนุษย์ และหุ่นนบนต์โคบอทรุ่น UR5 ที่ทำงานจับวางและทดสอบชิ้นงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำงานได้เร็วกกว่ามนุษย์ถึง 18 เท่าต่อครั้ง

                                                 




หุ่นยนต์ประกอบชิ้นงานหรือชิ้นส่วนรถยนต์


  • หุ่นยนต์ประกอบชิ้นงานหรือชิ้นส่วนรถยนต์ หุ่นยนต์ UR สามารถใช้ในงานประกอบส่วนใหญ่ได้ หุ่นยนต์ประหยัดพื้นที่และสามารถตั้งโปรแกรมใหม่ได้อย่างรวดเร็วเพื่อใช้กับเครื่องจักรต่างๆ ส่วนต่อเติมของหุ่นยนต์สามารถปรับแต่งตามความต้องการในการผลิตได้
  • หุ่นยนต์แทนที่ผู้ปฏิบัติงานมนุษย์ในงานที่สกปรก อันตราย และไม่น่าสนใจ เพื่อลดความตึงเครียดจากการทำงานซ้ำๆ และลดอาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ หุ่นยนต์ UR นับพันตัวส่วนใหญ่ทั่วโลกทำงานเคียงข้างผู้ปฏิบัติการมนุษย์ได้โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งแผ่นป้องกันภัย (หลังการประเมินความเสี่ยงแล้ว)    
  •                                           

                                            

หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด


หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด  EOD ROBOT ที่ผลิตขึ้นมาเป็นหุ่นยนต์แบบพกพาได้ เพราะมีขนาดเล็ก น้ำหนักประมาณ 20 กิโลกรัม ความยาว 48 เซนติเมตร ความกว้างลำตัว 43 เซนติเมตร สูง 20 เซนติมตร สามารถเคลื่อนที่ได้ทั้งระบบล้อและสายพาน ระยะเวลาปฏิบัติงานต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง  ควบคุมสั่งการระยะไกลแบบไร้สายไม่น้อยกว่า 150 เมตร สามารถปีนที่สูงลาดเอียงไม่น้อยกว่า 35 องศา  มีแขนกลหยิบจับสิ่งของที่มีน้ำหนัก 5 กิโลกรัมได้ และ มีกล้องตรวจการณ์ 4 ตัวสามารถเลือกดูภาพได้
EOD ROBOT สามารถช่วยลดการสูญเสียของกำลังพลที่จะต้องไปเก็บกู้วัตถุระเบิดได้ และ การปฏิบัติหน้าที่ของชุด EOD ต้องมีเครื่องมือที่สามารถลุยน้ำ ลุยป่าได้มากพอสมควร ที่สำคัญต้องมีน้ำหนักเบา ทหาร 1 นายสามารถแบกเข้าไปในพื้นที่อันตรายได้  EOD ROBOT จึงถูกผลิตขึ้นมาสนับสนุนภารกิจนี้ 
                                                
                                                          



หุ่นยนต์อัจฉริยะ

หุ่นยนต์อัจฉริยะ  Sophia (โซเฟีย) เป็นหุ่นยนต์ที่ใส่เทคโนโลยี AI เข้าไป ของ Hanson Robotics บริษัทผลิตหุ่นยนต์ที่มีฐานอยู่ในฮ่องกง มีจุดเด่นที่รูปร่างหน้าตาเหมือนมนุษย์เพศหญิง มีต้นแบบมาจาก ‘ออเดรย์ เฮปเบิร์น’ ดาราดังผู้ล่วงลับ

Sophia ถูกพัฒนาให้มีความรู้สึก มีความคิดสร้างสรรค์ เคลื่อนไหวได้ เรียนรู้จดจำคำพูด สามารถพูดตอบโต้ได้ด้วยเทคโนโลยีจาก Google นอกจากนี้ยังมีกล้องภายในดวงตา ทำให้สบตาเมื่อคุยกับมนุษย์

                                          





No comments:

Post a Comment